งาน work 4

ณรงค์ศักดิ์  กำเนิดทอง ธีระพงษ์  สมเขาใหญ่ และวีระยุทธ  ชาตะกาญจน์. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560, หน้า 43 52.

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2  และ 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดสำรวจรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t–test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของ LSD (Least Significant Difference)


       ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2)ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การสอนและจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ชูศักดิ์  เอกเพชร นัฎจรี  เจริญสุข และอาริษา วัฒนครใหญ่. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560, หน้า 33 42.


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2)ศึกษาการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 278 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากใช้แบบสอบถามด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และแบบสอบถามด้านการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 รวมค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


           ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการมีภาวะผู้นำ และด้านการตัดสินใจ 2)การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการเตรียมการและวางแผนดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และด้านการประเมินผล 3)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร พบว่ามีค่าความสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง .56 - .71 และคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง (r = .73**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


กัลลิกา ศรีหาสาร และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2561, หน้า 237 248.


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 684 คน และศึกษาดูงานกรณีศึกษาสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง เพื่อกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบและประเมินองค์ประกอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน  2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา พอเพียงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ที่ได้ในขั้นตอนที่ 1 และประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน  ผลการวิจัยพบว่า (1.) ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จากการสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า สภาพปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบหลัก พบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหามากที่สุด คือด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา สำหรับความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบหลักพบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อชุมชนจากการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษา (2.) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ พบว่า มีจำนวน 7 องค์ประกอบหลัก มีองค์ประกอบย่อย 24 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษามีองค์ประกอบย่อย 6 องค์ประกอบ 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ 4) ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษามีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ 5) ด้านการสร้างเครือข่ายและขยายผล มีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ 6) ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษา มีองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ และ 7) ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อชุมชนจากการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษา มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบบทความวิจัย (ก.ค. –ธ.ค. 2561)รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่สถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Digital transformation as distributed leadership: Firing the change agent